หน้าแรก ศูนย์รักษา ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรค
ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรค

ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรค

          ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลอินทรารัตน์  เปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสาขาโลหิตวิทยา, ภูมิคุ้มกันวิทยา, เคมีคลินิก, จุลทรรศนศาสตร์คลินิก, ธนาคารเลือด และ PCR  COVID-19 ให้แก่ผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงการบริการที่มีคุณภาพและใช้เครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสมทันสมัย เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว อีกทั้งมีการควบคุมคุณภาพทั้งภายใน (INTERNAL QUALITY CONTROL) และภายนอก (EXTERAL QUALITY ASSESSMENT) อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เพื่อประโยชน์และความพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ 

ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรค

          การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ  นับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการช่วยแพทย์วินิจฉัยความผิดปกติของผู้ป่วย รวมถึงติดตามผลการรักษาให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยหรือผู้มาใช้บริการของทางโรงพยาบาล ได้รับการบริการที่ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและความสะดวกรวดเร็ว

  1. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (LABORATORY MANAGEMENT SYSTEM)
  2. นวัตกรรมในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (INNOVATIVE FOR LABORATORY)
  3. ทางด้านคุณภาพ (QUALITY ASSURANCE )

ห้องปฏิบัติทางการแพทย์ Laboratory โรงพยาบาลอินทรารัตน์ เป็นวิธีการหนึ่งของการสืบค้น ทั้งนี้เพื่ออะไรบ้าง

  1. ช่วยในการพยากรณ์โรคและสนับสนุนการวินิจฉัยโรคของแพทย์
  2. ช่วยติดตามผลการรักษาให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว
  3. ช่วยประเมินวิธีรักษาและผลข้างเคียงจากการรักษา
  4. ช่วยการประเมินสุขภาพของผู้รับบริการ
  5. ช่วยในการตัดสินใจให้การรักษา
  6. ช่วยบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค

การปฏิบัติตน ก่อนการเจาะเลือด

การปฏิบัติตน ก่อนการเจาะเลือด

  1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
  2. กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  3. กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนตรวจ
  4.  หากท่านกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต ท่านสามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ
  5. หากท่านมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  6. ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน

การปฏิบัติตน หลังการเจาะเลือด

  1. ควรกดสำลีบริเวณที่เจาะเลือดสักพักประมาณ 5 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล
  2. ในกรณีที่ต้องอดอาหารก่อนมาเจาะเลือด ให้รีบทานอาหารเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำตาลในเลือดซึ่งอาจ มีผลทำให้เกิดอาการ วิงเวียนศีรษะ และเป็นลมได้
  3. ไม่นวดหรือคลึงบริเวณที่เจาะแขน เพราะจะทำให้เส้นเลือดแตกและเป็นรอยช้ำได้
  4. ไม่ควรกังวลกับรอยเขียวช้ำหลังจากการเจาะเลือดที่เกิดขึ้นจะจางหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

แพทย์เฉพาะทาง