หน้าแรก ศูนย์รักษา กายภาพบำบัดคืออะไร ช่วยอะไรได้บ้าง / นักกายภาพบำบัดคืออะไร?
กายภาพบำบัดคืออะไร ช่วยอะไรได้บ้าง / นักกายภาพบำบัดคืออะไร?

กายภาพบำบัดคืออะไร ช่วยอะไรได้บ้าง / นักกายภาพบำบัดคืออะไร?


กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาหนึ่งทางการแพทย์ และสาธารณสุข 


วิชาชีพกายภาพบำบัด คือ วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด 

นักกายภาพบำบัด หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด คือ บุคลากรที่ได้ขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดจากสภากายภาพบำบัด

          แผนกกายภาพบำบัด  โรงพยาบาลอินทรารัตน์  พร้อมให้บริการและดูแลทางกายภาพบำบัดทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ ที่จะทำการตรวจประเมิน วินิจฉัย  รักษา  ฟื้นฟูสมรรถภาพ  ให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด  ป้องกันการเป็นซ้ำ  รวมทั้งมุ่งส่งเสริมสุขภาพร่างกาย  และจิตใจ  เป็นการวางแผนและให้การรักษาที่มีความเฉพาะต่อปัญหาของผู้ป่วยแต่ละบุคคลด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด  และเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่มีเทคโนโลยีทันสมัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และมาตรฐานวิชาชีพ  ด้วยนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ  มากด้วยประสบการณ์  


เวลาเปิดให้บริการบริการ ทุกวัน 8:00 – 17:00 น. แผนกกายภาพบำบัด ชั้น 3 โรงพยาบาลอินทรารัตน์

ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ 02 481 5555 ต่อ 3500

การบริการทางกายภาพบำบัด

  • กายภาพบำบัดในผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  ได้แก่ อาการปวดหลัง  ปวดคอ  ออฟฟิศซินโดรม  ข้อเสื่อม  ข้อยึดติด  บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ  ผ่าตัดกระดูก  เป็นต้น
  • กายภาพบำบัดในผู้ป่วยระบบประสาท  ได้แก่  อัมพฤกษ์  อัมพาต  บาดเจ็บทางสมอง  การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง  เป็นต้น
  • กายภาพบำบัดในผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือด  ได้แก่  ผ่าตัดหัวใจ  เป็นต้น
  • กายภาพบำบัดในผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ  ได้แก่  หลอดลมอักเสบ  ปอดบวม  ผ่าตัดทรวงอก  เป็นต้น
  • กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ  เพื่อชะลอความเสื่อม และป้องกันโรค หรือความเสี่ยงที่พบในผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และคงช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ การออกกำลังเพื่อเพิ่มความสมดุลของร่างกายและการป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้ม รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการทรงตัว
  • การให้คำแนะนำและฟื้นฟูผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
  • การให้บริการสอนใช้งานอุปกรณ์ช่วยเดิน (Gait aid) เช่น  ไม้ค้ำยัน ไม้เท้าสี่ขา ไม้เท้าสามขา เป็นต้น
  • การให้บริการสอนใช้งานกายอุปกรณ์เสริม (Orthoses) หรือ  อุปกรณ์ดาม หรือที่ประคอง (Splint หรือ Brace) 


บริการทางกายภาพบำบัดต้องกระทำภายใต้กฎหมายวิชาชีพ และขอบเขตมาตรฐานของวิชาชีพ

  1. ให้บริการทางกายภาพบำบัดโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และมาตรฐานวิชาชีพ
  2. ให้บริการทางกายภาพบำบัด โดยใช้กระบวนการทางกายภาพบำบัดที่ครอบคลุมการให้บริการหลักทั้ง 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ
  3. ให้บริการทางกายภาพบำบัดตามบทบาทหน้าที่ จรรยาบรรณ และกฎหมายวิชาชีพ
  4. ให้บริการทางกายภาพบำบัดด้วยตระหนักในสิทธิของผู้ป่วย
  5. ให้บริการทางกายภาพบำบัดโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล

 

คู่มือประเมินมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด ฉบับปรับปรุง ปี 2564, สำนักงานตรวจรับรองมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด คณะอนุกรรมการฝ่ายมาตรฐานวิชาชีพ สภากายภาพบำบัด

เทคนิคการรักษาและเครื่องมือทางกายภาพบำบัด

  • การบำบัดด้วยเลเซอร์ (Laser) ด้วย เครื่องให้การรักษาด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง (Hi Power Laser) เพื่อให้การบำบัดรักษา ลดปวด ลดบวม ลดการอักเสบกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave Therapy) ด้วย เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave) แบบ Radial สำหรับใช้ในการบำบัดผู้ป่วย / ผู้รับบริการทางกายภาพบำบ เพื่อลดอาการปวด เช่น การลดอาการปวดเรื้อรังบริเวณข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น
  • การบำบัดด้วยอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ด้วย เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Multi-Frequency Ultrasound) สำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วย / ผู้รับบริการทางกายภาพบำบัด ที่มีปัญหาทางกล้ามเนื้อ อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ
  • การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าความถี่ต่ำ (Electrical Stimulator) ด้วยเครื่องกระตุ้นกระไฟฟ้า (Electrotherapy)
  • การดึงคอ – ดึงหลัง (Cervical – Lumbar / Pelvic Traction) ด้วย เครื่องดึงคอและดึงหลังอัตโนมัติพร้อมเตียงปรับระดับได้ (Power Traction Unit) เป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ใช้แรงกระทำ กับร่างกายในทิศทางตรงกันข้ามกัน ช่วยคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดจากแรงกดที่ทำต่อข้อต่อกระดูกสันหลังให้ลดลง รวมทั้งช่วยลดการกดเส้นประสาทไขสันหลัง หรือแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลังลงจากการแรงกระทำที่ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยมีอาการจากการกดรากประสาท เนื่องจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc Pulposus: HNP), อาการปวดหรือเกร็งของกล้ามเนื้อคอหรือหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) และภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
  • การปรับยืนด้วยเตียง (Tilt table) ด้วย เตียงหมุนปรับยืนด้วยไฟฟ้า (Adjustable Tilt Table) เพื่อใช้ฝึกยืน โดยการปรับองศาของเตียง ใช้ในการรักษา และฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยที่มีภาวะต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, การบาดเจ็บของไขสันหลัง, ผู้มีภาวะติดเตียง และกลุ่มเด็กสมองพิการ เป็นต้น
  • การบำบัดด้วยพาราฟิน: มือ – เท้า (Paraffin Bath) ด้วย หม้อแช่พาราฟิน (Paraffin Boiler) ที่หลอมละลายไขพาราฟินด้วยความร้อน ให้สำหรับรยางค์ส่วนปลาย เช่น มือ ข้อมือ เท้า และข้อเท้า มักใช้ในผู้ป่วยที่ปวดข้อเรื้อรัง (Chronic Arthritis) นิ้วล็อก (Trigger Finger) พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ (Plantarfascialitis) ช่วยลดการอักเสบแบบเรื้อรัง เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยให้พังพืดที่แข็งตัว อ่อนตัวลง
  • การรักษาด้วยเทคนิคทางกายภาพบำบัด (Manual Therapy)


การบริการทางกายภาพบำบัด

  1. ประเมินอาการก่อนทำกายภาพบำบัด
  2. ทำกายภาพบำบัดตามแผนการรักษา

          มีกระบวนการให้บริการทางกายภาพบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ


กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ คืออะไร

          ประเทศไทยได้ก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ตั้งแต่ปี 2548 ซึงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีและในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Completely Aged Society) เพราะมีประชากรที่มีอายุ 60 ขั้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 และคาดว่าในปี 2579 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นคือการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society)  ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ หรือมีภาวะทุพพลภาพจำนวนมาก 
          ด้วยเหตุนี้ ระบบบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐ และเอกชนจำเป็นต้องมีคุณภาพ และประสิทธิ พร้อมรับมือกับสภาวะสังคมที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก และมุ่งเน้นไปที่การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคให้มากยิ่งขึ้น
          โดยทั่วไป นักกายภาพบำบัด มีบทบาทหน้าที่ในด้านการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย ยังมีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการป้องกันโรคด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดอีกด้วย นั่นคือ นักกายภาพบำบัดมีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุน-ส่งเสริมให้ผู้ป่วย / ผู้รับบริการ และครอบครัว มีความรู้ความสามารถในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง โดยการควบคุมปัจจัยกำหนดสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ สังึท และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย / ผู้รับบริการ อย่างยั่งยืน 


          สำหรับสังคมสูงอายุแล้ว นักกายภาพบำบัดก็มีบทบาทหน้าที่ส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs), การออกกำลังกายป้องกันหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นต้น

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย (Common Geriatric Disease caused by Physical Impairment)


ผู้สูงอายุที่อาจได้รับประโยชน์จากการทำกายภาพบำบัดมีดังนี้

  • ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ (Arthritis)
  • ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)
  • ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดสะโพก
  • ผู้ที่ต้องใส่ข้อเข่าเทียม
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านการทรงตัว (Balance disorders)
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง

แพทย์เฉพาะทาง