- หน้าแรก
- บริการของเรา
- สาเหตุของเข่าเสื่อม
สาเหตุของเข่าเสื่อม
สาเหตุของเข่าเสื่อม
เกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่ส่วนปลายของกระดูกข้อต่อบริเวณข้อเข่าเสื่อมลง ซึ่งกระดูกอ่อนนี้ทำหน้าที่ปกป้องรับแรงกระแทก และให้ความรียบลื่นในการเคลื่อนไหว ซึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า มีดังนี้
- อายุ ความเสี่ยงในการเกิดเข่าเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอายุ,ที่มากขึ้น โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดกับผู้ที่อายุยังน้อยได้เช่นกัน
- การบาดเจ็บโดยอาจเกิดจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ รวมถึงการบาดเจ็บต่อเอ็นและกระดูกบริเวณเข่า และถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้ว ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเข่าเสื่อมในอนาคต
- เพศ โดยเพศหญิงมีโอกาสในการเกิดภาวะเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ภาวะอ้วน เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะอ้วนจะทำให้ข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าที่ต้องรับน้ำหนักเพิ่ม มีแรงกดต่อกระดูกอ่อนเพิ่ม และสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้ภาวะเข่าเสื่อมได้
- โรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาวะที่จะทำให้เกิดการเสื่อมของข้อต่อได้ เช่น การติดเชื้อ, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคเก๊าท์
- กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายจะพบว่ามีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานและมีผลต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้อย่างมากมาย อาการและอาการแสดงที่มาจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้แก่
- อาการปวด อาการปวดข้อเข่าที่เกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมาน ปวดเวลาขยับข้อ และไม่สะดวกในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น เดินหรือขึ้นลงบันได
- จำกัดความสามารถในการเคลื่อนไหว พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อลดลง การจำกัดความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถูกจำกัดในกิจกรรมที่เคยทำได้โดยปกติ ซึ่งอาจทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายใจและทรมาน
- ข้อบวม ผิดรูป มีเสียงดังในข้อ ข้ออักเสบสามารถทำให้ข้อบวม และอาจส่งผลให้รูปร่างเข่าเปลี่ยนไป งอผิดรูป ส่งผลต่อท่าทางและบุคลิกภาพ
- ข้อจำกัดในการทำกิจกรรมทั่วไป โรคข้อเข่าเสื่อมอาจทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมทั่วไป เช่น เดินเล่นกีฬาหรือการท่องเที่ยว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความทรมานและความเสียหายในคุณภาพชีวิต
การจัดการความทรมานที่เกิดขึ้นจากโรคข้อเข่าเสื่อมอาจจำเป็นต้องใช้การรักษาอย่างรอบคอบที่ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพบำบัด การใช้ยาแก้ปวด และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อลดอาการทรมานและปรับปรุงคุณภาพชีวิตในระยะยาว โดยการรักษาดังนี้
- การใช้ยา การใช้ยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวดอาจช่วยลดอาการปวดและอาการอักเสบในข้อเข่า
- กายภาพบำบัด และ การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี การฝึกซ้อมและยืดเยื้อข้อเข่าอย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อ
- การควบคุมน้ำหนัก การลดน้ำหนักจะช่วยลดน้ำหนักที่ข้อเข่าต้องรับภาระ
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่นการใช้ไม้เท้าเพื่อลดแรงกระทำในข้อเข่าและช่วยให้การเดินเป็นไปอย่างมั่นคงขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต การปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน เช่น การเลิกสูบบุหรี่หรือการปรับเปลี่ยนท่าทางในการยืนหรือนั่ง เพื่อลดการกดข้อเข่าและลดอาการปวด
- การใช้เครื่องมือช่วย การใช้อุปกรณ์พยุงข้ออาจช่วยลดภาระในข้อเข่าและช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
- การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยใช้หัตถการที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่นการฉีดน้ำหล่อลื่นข้อเข่า หรือ เกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง มุ่งเน้นไปที่การลดอาการปวดและการจัดการอาการอักเสบในข้อเข่า, หล่อลื่นข้อเข่า หรือกระตุ้นการซ่อมแซมของกระดูกอ่อน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การผ่าตัด มีการผ่าตัด นอกเหนือจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ยังมีการผ่าตัดหลายรูปแบบเป็นทางเลือก เนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อมอาจจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปซึ่ง แพทย์จะทำการประเมินและแนะนำวิธีที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคลต่อไป
บทความโดย
นพ.ปิยะ อัศวบุญญาเดช
ศัลยแพทย์กระดูก-ข้อ /ออร์โธปิดิกส์และผู้เชี่ยวชาญทางเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน