ซีเซียม-137 คืออะไร?
ซีเซียม-137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี ประมาณ 95%จะสลายตัวโดยปล่อยรังสีเบต้า(Beta) แล้วกลายเป็น แบเรี่ยม-137m (ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียง 2.5 นาที) และเมื่อรังสีเบต้าสลายตัว จะให้รังสีแกมม่า(Gamma) ขณะที่อีก 5% จะสลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง
=> มีการนำซีเซียม-137 มาใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ใช้ปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสีแกมม่าในห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี รวมถึงใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมม่า และใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีที่ใช้รักษามะเร็ง
ซีเซียม-137 มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร?
เมื่อได้รับเข้าไปในร่างกายซีเซียมสามารถกระจายไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่กล้ามเนื้อและกระดูก บางส่วนจะไปอยู่ในตับและไขกระดูก สุดท้ายจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ กัมมันตภาพรังสีนี้ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี จึงทำให้ผู้ที่สัมผัสอาจไม่รู้ตัว แต่หลังจากนั้นภายในเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน จะเริ่มแสดงอาการทางระบบต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ ระบบเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ซึ่งอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสี
-คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร
-ปวดท้อง ถ่ายเหลว
-อ่อนเพลีย ขาดน้ำ
-ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสรังสีเกิดการอักเสบ แดง ไหม้ มีการหลุดลอก เกิดเป็นแผล ผิวหนังตาย
-ผมและขนหลุดร่วง ปากเปื่อย
-อาการจากไขกระดูกถูกกด ทำให้เป็นไข้ ติดเชื้อแทรกซ้อน มีเลือดออกง่าย
-ซึม สับสน ชัก โคม่า
หากสงสัยว่ามีการสัมผัสสารกัมมันตรังสีร่วมกับมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติการสัมผัสสารแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด
โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบประเภทหนึ่ง เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อ สามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีอาการ ความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่ต่างกัน
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital