หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน

หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน

04/06/2567 14:18:31 | Views: 2,048

หากเมื่อไหร่เราต้องประสบปัญหาด้านการได้ยินก็คงเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องพบกับความลำบากและขาดความสุขในส่วนนี้ไป วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับอีกหนึ่งโรคอันตรายที่ถือว่าเป็น… หนึ่งใน “ภัยเงียบ” ที่ทำร้ายการได้ยินของเราจนถึงขั้นอาจทำให้หูหนวกไป คือ “โรคเส้นประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลัน” ซึ่งโรคนี้จะเกิดจากสาเหตุใดและต้องรักษาอย่างไร? 

เส้นประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
“โรคเส้นประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลัน” หรือ “Sudden Sensorineural Hearing Loss” คือ ภาวะที่หูสูญเสียการได้ยิน “ลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล” ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมง โดยสามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกันทั้ง 2 ข้าง แต่มักพบว่าจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า ซึ่งกว่า 90% ของผู้ป่วย มักไม่ทราบสาเหตุ แต่อีก 10% เกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

-    เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
-    เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
-    เกิดจากการได้รับยาฆ่าเชื้อในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์
-    เกิดจากการไหลเวียนของเลือดในหูน้อยลง อันเนื่องมาจากความดันต่ำ หรือเสียเลือดมาก
-    เกิดจากภาวะพักผ่อนน้อยเกินไป
-    เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันขั้นรุนแรง ซึ่งจะทำให้มีอาการเวียนหัวร่วมด้วย
-    เกิดจากเนื้องอกในสมอง หรือเนื้องอกที่เส้นประสาทหู
-    การได้ยินเสียงดังมากๆ รวมถึงการใส่หูฟังเพลงดังๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือหลับพร้อมกับที่ยังใส่หูฟังเพลงอยู่ ก็ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลันได้


 
อาการแบบไหน น่าสงสัยว่าประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลัน ?
อาการของโรคประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลันที่สังเกตได้ง่ายที่สุด คือ คนไข้จะสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน โดยดับวูบไปอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา การได้ยินก็จะบกพร่องอยู่อย่างนั้น หรือเป็นหนักขึ้นจนถึงขั้น ‘หูหนวก ไม่ได้ยินอะไรเลย’ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการร่วมอื่นๆ ได้ เช่น การได้ยินเสียงดังในหู ซึ่งเป็นเสียงอื้อๆ ก้องๆ ที่เกิดขึ้นเองจากหู โดยที่ไม่ได้ยินเสียงภายนอก หรือบางรายจะรู้สึกเหมือนมีอะไรแน่นๆ ติดขัดในหู ความสามารถในการได้ยินลดลง ต้องคอยฟังซ้ำ ต้องเปิดทีวีเสียงดังขึ้น เป็นต้น แต่อาการโรคประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลันนี้ “จะไม่มีอาการปวดร่วมด้วย” และโรคนี้จะต่างจากภาวะหูอื้อธรรมดาโดยทั่วไปคือ จะไม่สามารถหายได้เองภายใน 1 วัน แต่จะคงอยู่ไปเรื่อยๆ และการได้ยินจะลดคุณภาพลงไปเรื่อยๆ ได้

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลโรคประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลัน ?
-  หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
-  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
-  รับประทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสที่อาจทำให้หูดับได้
-  ลดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็น เค็ม มัน หวาน เพราะโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้
-  หลีกเลี่ยงการแคะหูรุนแรงที่อาจทำให้แก้วหูทะลุ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อไปยังหูชั้นในได้

เนื่องจากความผิดปกติของโรคประสาทหูชั้นในดับเฉียบพลัน อาจมีความคล้ายกับการหูอื้อ ได้ยินน้อยลง หลังจากได้ยินเสียงดังมากๆ จึงทำให้บางคนชะล่าใจ และปล่อยทิ้งไว้ คิดว่าเป็นแค่หูอื้อธรรมดา จึงเสี่ยงเป็นอันตรายมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ หากพบอาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน ผ่านไป 1 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น

ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษาทักท่วงที
ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง อาจจะต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดต่อมทอนซิล ซึ่งการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดจะช่วยให้อาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังหายเป็นปกติได้ โดยหากพบว่า ภายใน 1 ปี มีอาการทอนซิลอักเสบมากกว่า 7 ครั้ง ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาอย่างถูกต้อง เพราะต่อมทอนซิลที่เกิดการอักเสบ จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงได้


บทความน่ารู้

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) 

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) 

การตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เกิดภาพ ซึ่งสามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เห็นได้ถึงความผิดปกติบางชนิด 

หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน

หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสุขและการดำเนินชีวิตของเราทุกคนนั้น จำเป็นต้องอาศัย “การได้ยินเสียง”