ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

22/08/2566 14:19:16 | Views: 2,050

ภาวะหลังคลอดบุตร
เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอดบุตร มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ เนื่องจากฮอร์โมนฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนลดลง ดังนั้นคุณแม่ควรทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ภาวะหลังคลอดทางด้านร่างกาย
คุณแม่จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย หลังคลอดบุตรโดยเฉพาะช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด ในการเข้าสู่ภาวะร่างกายปกติ อาจจะต้องใช้เวลา 6-8 สัปดาห์หลังคลอด

ผมร่วง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไม่ใช่อาการผิดปกติ เพราะเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ อาการผมร่วงก็จะหายไป

  • เต้านมคัดตึง เนื่องจากเต้านมจุน้ำนมจนเต็ม แต่ไม่ได้รับการระบายออก จนเกิดแรงดันสูงภายในเต้านม ไปขัดขวางการไหลของน้ำนม ส่งผลให้คุณแม่มีอาการเจ็บเต้านม ตึง ปวด บริเวณเต้านม
  • ภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเมื่อคลอดบุตร คุณแม่มีการเสียเลือด
  • น้ำคาวปลา จะมีของเหลวที่ถูกขับออกผ่านทางช่องคลอด ลักษณะคล้ายประจำเดือน นั่นคือ น้ำคาวปลา หลังคลอด 3-4 วัน จะมีการหลั่งของน้ำคาวปลาออกมาเป็นสีแดงสด ในปริมาณที่เยอะมาก ซึ่งจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังคลอดบุตร
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เมื่อคลอดบุตร กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะยืดออก ทำให้หลังคลอด มีอาการปัสสาวะเล็ด เมื่อคุณแม่ไอ จาม หรือหัวเราะ อาการนี้จะค่อยๆหายไปหลังคลอด 3 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ท้องผูก คุณแม่จะมีอาการเจ็บแผลหลังคลอด จนไม่อยากจะขับถ่าย ทำให้เกิดอาการท้องผูก

ภาวะหลังคลอดทางด้านจิตใจ

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) มักจะเกิดขึ้นในปีแรกหลังคลอดบุตร คุณแม่จะมีอาการ หงุดหงิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ร้องไห้บ่อย เก็บตัว ไม่ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรืออาการหนักคือ คิดทำร้ายตัวเองและลูก และคิดฆ่าตัวตาย

การดูแลคุณแม่หลังคลอดบุตรทางด้านร่างกาย

  • เมื่อมีการหลั่งน้ำคาวปลา ควรใส่ผ้าอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ อีกทั้งควรล้างอวัยวะเพศด้วยน้ำสะอาด
  • หากมีอาการคัดตึงของเต้านม ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณลานนม จะช่วยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากนมคัดแต่มีน้ำนม ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านม หรือหากนมคัด และไม่มีน้ำนม ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบเต้านม และให้ทารกดูดนมบ่อยๆจะกระตุ้นการสร้างน้ำนมขึ้น
  • คุณแม่หลังคลอดบุตร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้น ผัก ผลไม้ ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กาเฟอีน
  • คุณแม่หลังคลอดบุตร ไม่ควรยกของหนัก หรือออกแรงขึ้นบันได เป็นเวลานานๆ
  • งดมีเพศสัมพันธ์ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร
  • มาตามนัดหมายของแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจสุขภาพร่างกายของคุณแม่ และวางแผนการคุมกำเนิด

การดูแลคุณแม่หลังคลอดบุตรทางด้านจิตใจ
คนรอบๆข้างควรพูดให้กำลังใจ โดยเฉพาะคุณพ่อควรแบ่งเบาภาระคุณแม่ในการดูแลลูก และทำความสะอาดบ้าน จะทำให้คุณแม่มีสุขภาพจิตดีขึ้นภาวะร่างกายหลังคลอดบุตร ทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ คุณแม่ควรได้รับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ และการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลัง คลอด ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และการดูแลลูก

 


บทความน่ารู้

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) 

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) 

การตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เกิดภาพ ซึ่งสามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เห็นได้ถึงความผิดปกติบางชนิด 

CO2 Laser

CO2 Laser

เลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Laser) เป็นการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นตัวกลางในการทำให้เกิดแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นที่ 10,600 nm