การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density, BMD)

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density, BMD)

24/07/2567 14:56:55 | Views: 1,286

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) เป็นการตรวจเพื่อหาค่าความหนาแน่นของกระดูกตามส่วนต่างๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยตำแหน่งที่ตรวจมักจะเป็นบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่มีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย หรือหากจำเป็นก็สามารถตรวจมวลกระดูกได้ทั่วตัว

การตรวจมวลกระดูกเป็นการตรวจที่ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำและอาหารแต่อย่างใด สามารถเข้ารับการตรวจได้ทันที ใช้เวลาตรวจประมาณ 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนและบริเวณที่ต้องการตรวจ

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก มีผลดีอย่างไร?

  • สามารถตรวจกระดูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เกือบทั้งหมด
  • ผลตรวจคมชัด ถูกต้อง และแม่นยำ
  • ไม่เจ็บปวดขณะตรวจ
  • สะดวก และใช้เวลาตรวจน้อย
  • มีปริมาณรังสีที่ต่ำ

 

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก เหมาะกับใครบ้าง?

  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนและผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ชายที่อายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 58 กิโลกรัม
  • ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักในช่วงวัยผู้ใหญ่
  • ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
  • ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวสายตรงมีประวัติกระดูกสะโพกหักจากการได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกนั้นจะตรวจประเมินกระดูกในบริเวณที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง ได้แก่

  • กระดูกสันหลังบั้นเอว
  • กระดูกต้นขา
  • แขนท่อนปลาย

 

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกจะช่วย

  • ประเมินว่าผู้ป่วยมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำหรือไม่ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์กระดูกหัก
  • ประเมินอัตราความเสี่ยงที่กระดูกอาจจะหักได้ในอนาคต
  • ตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ตรวจสอบว่าการรักษาโรคกระดูกพรุนได้ผลดีหรือไม่

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกนั้นแตกต่างจากการสแกนกระดูก ซึ่งแพทย์จะทำเพื่อตรวจวินิฉัยกระดูกที่หัก ติดเชื้อ เป็นมะเร็ง และความผิดปกติอื่น ๆ ของกระดูก

 


บทความโดย

พญ.ณิชากร  สี่หิรัญวงศ์
พญ.ณิชากร สี่หิรัญวงศ์

รังสีแพทย์


บทความน่ารู้

พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปี

พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปี

พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปีนั้น จะมีการเติบโตทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็ว

ทำความรู้จัก Lasik

ทำความรู้จัก Lasik

"เลสิค" เป็นคำเรียกโดยรวมของการผ่าตัดแก้ไขสายตา โดยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา คำว่า LASIK ย่อมาจาก Laser In Situ Keratomileusis สามารถแก้ไขสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด โดยมุ่งเน้นการแก้ไขที่กระจกตาเป็นหลัก