เหตุผลที่ควรพาเด็กมารับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19

เหตุผลที่ควรพาเด็กมารับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19

14/12/2565 10:23:42 | Views: 3,731

เหตุผลที่ควรพาเด็กมารับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19
ถึงแม้วัคซีนจะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ 100%  แต่วัคซีนจะสามารถช่วยป้องกัน :
-ไม่ให้เกิดอาการรุนแรง (เช่นปอดบวม สมองอักเสบ) ได้- ป้องกันการเข้าไอ ซี ยู (ICU = intensive care unit) และป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัว

วัคซีนเน้นช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ COVID-19 เช่น
1.โรค MIS-C (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) :
คือกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบทั่วร่างกายในเด็ก เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหลังเด็กติดเชื้อโควิด 2-6 สัปดาห์
     - อาการที่พบได้: ไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ขั่วโมง ตาแดง ริมฝีปาก/ลิ้นแดง ผื่นแดงตามตัว มือเท้าบวมแดง กล้ามเนื้อหัวใจ & ปอดอักเสบ (ทำใหัเกิดหายใจหอบเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดอุดตัน ซึ่งหากรุนแรง อาจช็อคได้) ตับและไตอักเสบ ลำไส้อักเสบ (คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง) สมองอักเสบ/ชัก ปวดศีรษะ & ต่อมน้ำเหลืองโต
     - หากสงสัยโรค MIS-C ควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์ทันที เพราะอาการอาจรุนแรง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้
2.ภาวะ LONG COVID: มีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 เดือน หลังติดเชื้อโควิด
     - อาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แต่จะเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และ ความจำสั้น

เด็กกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 :
- ทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี รวมถึงเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด
- โรคอ้วน
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคมะเร็ง และภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
- โรคเบาหวาน
- โรคทางพันธุกรรม รวมกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท & เด็กที่มีพัฒนาการช้า

กรณีเคยติดเชื้อโควิด สามารถมารับวัคซีนได้หลังหายแล้ว 3 เดือน
- สามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆในวันเดียวกันหรือห่างกันเท่าใดก็ได้
- โรคประจำตัวทุกชนิดสามารถรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ ยกเว้น เคยมีประวัติแพ้วัคซีนโควิดแบบรุนแรง หรือป่วยมีไข้ในวันที่จะมาฉีดวัคซีน ควรเลื่อนไปก่อน


บทความโดย

พญ.กนกแก้ว  วีรวรรณ
พญ.กนกแก้ว วีรวรรณ

กุมารแพทย์ทั่วไป อเมริกันบอร์ดกุมารเวชศาสตร์


บทความน่ารู้

หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน

หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสุขและการดำเนินชีวิตของเราทุกคนนั้น จำเป็นต้องอาศัย “การได้ยินเสียง”