Calcium Score หรือในชื่อเต็ม CT Coronary Calcium Score คือการตรวจหา ‘หินปูนในเส้นเลือดหัวใจ’ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อสำรวจ ‘ความเสื่อม’ ของเส้นเลือดหัวใจ และประเมิน ‘ความเสี่ยง’ ของการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ ในอนาคต แม้จะยังไม่มีอาการแสดง
ข้อดีของการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Calcium Score)
- มีความแม่นยำสูงในการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงช่วยให้เกิดการวางแผนป้องกันหรือรีบรักษาอย่างทันท่วงที
- ตรวจง่าย ไม่เจ็บ ใช้เวลาน้อย
- ไม่ต้องฉีดสี ได้รับรังสีน้อย ปลอดภัย
- ราคาไม่สูง
การตรวจ Calcium Score ต่างจากการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) อย่างไร ?
เนื่องจากภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ จากตีบน้อยไปตีบมาก เป็นกระบวนการเสื่อมของเส้นเลือดทีละน้อยอย่างช้าๆ จนเกิดมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ในระยะท้ายๆ และเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ อุดตัน หรือแตก ในที่สุด ซึ่ง… การตรวจ Calcium Score จะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมของหลอดเลือดได้ตั้งแต่ระยะแรก
โดยจากภาพจะเห็นว่า เส้นเลือดหัวใจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของ ‘เส้นเลือดจากภาวะปกติ’ (ซ้ายมือสุดของภาพ) โดยมีการสะสมของไขมันและหินปูนบนผนังของเส้นเลือด ซึ่งก็จะทำให้ ‘เส้นเลือดตีบลงอย่างช้าๆ’ (ในส่วนที่ 2 ของภาพ) กระบวนการเสื่อมนี้จะใช้เวลาหลายปี โดยอาจยาวนาน 5-30 ปีก็เป็นได้ ขึ้นกับว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่เร่งให้เส้นเลือดเสื่อมมากน้อยแค่ไหน
เมื่อพบว่า ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบมาก หรือเกิด ลิ่มเลือดที่ทำให้อุดตันแล้ว (2 ส่วนด้านขวามือในภาพ) จะถือว่าเป็นช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการและต้องมาพบแพทย์แล้ว และเป็นการเสื่อมระยะท้ายๆ ของเส้นเลือดบริเวณนั้น ทำให้การรักษายากขึ้น
การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพานหรือที่เรียกว่า Exercise Stress Test (EST) เป็นการตรวจหาภาวะขาดเลือดในขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกายหรือหัวใจทำงานหนัก โดยเส้นเลือดที่ตีบมากจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยกว่าปกติ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงในขณะที่ออกกำลังกายหรือหัวใจทำงานหนัก โดยผลที่ประเมินได้จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า
- การตรวจ EST จะพบความผิดปกติก็ต่อเมื่อเส้นเลือดหัวใจได้ตีบมากแล้ว
- แต่การตรวจ Calcium Score (CAC) สามารถตรวจพบความผิดปกติของเส้นเลือดที่มีหินปูนไปเกาะบนผนังของเส้นเลือดตั้งแต่ระยะที่มีการตีบไม่มากไปจนถึงตีบมากได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า CAC เป็นการตรวจที่สามารถหา “ความเสื่อม” ของเส้นเลือดหัวใจตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีอาการได้ จึงช่วยประเมิน “ความเสี่ยง” ของการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้ดีและรวดเร็ว นำไปสู่การจัดการหรือการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เหมาะสมต่อไป
ความสัมพันธ์ของ Calcium Score กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในอนาคต
นอกจากหินปูนที่ตรวจพบ การตรวจ Calcium Score จะบ่งบอกถึงความเสื่อมของเส้นเลือด เหมือนการมีผมหงอกหรือผมบางในการแสดงความเสื่อมของหนังศีรษะ ปริมาณหินปูนที่พบยังสัมพันธ์กับปริมาณตะกรันในหลอดเลือด (Plague burden) คือ ค่ายิ่งมากแปลว่าหลอดเลือดยิ่งเสื่อมมาก
ที่สำคัญที่สุด“ปริมาณหินปูนที่ตรวจพบจะบอกถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจใน
5 -10 ปีข้างหน้า” ได้อย่างชัดเจน
โดยวงการแพทย์ทั่วโลกทราบความจริงข้อนี้มากว่า 20 ปี มีการศึกษาทั้งในอเมริกาและยุโรป ทั้งในประเทศไทยเองก็มีอาจารย์แพทย์จำนวนมากที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญ โดยจากข้อมูลตัวอย่างในงานวิจัยในฝั่งอเมริกา MESA study ที่ทำมานานกว่า 20 ปี มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 2,000 ฉบับ ก็มีแง่มุมที่สำคัญ เช่น
คนที่มีค่าหินปูน (CAC) เท่ากับ 0 มีโอกาสเกิดโรคหัวใจใน 5 ปี น้อยกว่า 1%ในขณะที่ถ้า CAC มากกว่า 300 โอกาสเกิดโรคสูงกว่า 10%
การเกิดความเสื่อมของเส้นเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ใช่กระบวนการเพียงข้ามคืน แต่ต้องใช้เวลาหลายปีก่อนมีอาการแสดง การที่ตรวจพบช้าเมื่อคนไข้มีอาการแล้ว อาจถือว่า “เราเจอกันช้าไป” ความพยายามตรวจหาเส้นเลือดที่เสื่อมก่อนมีอาการ เพื่อการดูแล ชะลอ และป้องกันการเกิดโรค จึงเป็นแนวคิดหลักของการตรวจ Calcium Score นี้ ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
โดยจากภาพจะเห็นว่า เส้นเลือดหัวใจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของ ‘เส้นเลือดจากภาวะปกติ’ (ซ้ายมือสุดของภาพ) โดยมีการสะสมของไขมันและหินปูนบนผนังของเส้นเลือด ซึ่งก็จะทำให้ ‘เส้นเลือดตีบลงอย่างช้าๆ’ (ในส่วนที่ 2 ของภาพ) กระบวนการเสื่อมนี้จะใช้เวลาหลายปี โดยอาจยาวนาน 5-30 ปีก็เป็นได้ ขึ้นกับว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่เร่งให้เส้นเลือดเสื่อมมากน้อยแค่ไหน
เมื่อพบว่า ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบมาก หรือเกิด ลิ่มเลือดที่ทำให้อุดตันแล้ว (2 ส่วนด้านขวามือในภาพ) จะถือว่าเป็นช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการและต้องมาพบแพทย์แล้ว และเป็นการเสื่อมระยะท้ายๆ ของเส้นเลือดบริเวณนั้น ทำให้การรักษายากขึ้น
การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน หรือที่เรียกว่า Exercise Stress Test (EST) เป็นการตรวจหาภาวะขาดเลือดในขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกายหรือหัวใจทำงานหนัก โดยเส้นเลือดที่ตีบมากจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยกว่าปกติ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงในขณะที่ออกกำลังกายหรือหัวใจทำงานหนัก โดยผลที่ประเมินได้จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า
- การตรวจ EST จะพบความผิดปกติก็ต่อเมื่อเส้นเลือดหัวใจได้ตีบมากแล้ว
- แต่การตรวจ Calcium Score (CAC) สามารถตรวจพบความผิดปกติของเส้นเลือดที่มีหินปูนไปเกาะบนผนังของเส้นเลือดตั้งแต่ระยะที่มีการตีบไม่มากไปจนถึงตีบมากได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า CAC เป็นการตรวจที่สามารถหา “ความเสื่อม” ของเส้นเลือดหัวใจตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีอาการได้ จึงช่วยประเมิน “ความเสี่ยง” ของการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้ดีและรวดเร็ว นำไปสู่การจัดการหรือการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เหมาะสมต่อไป
ความสัมพันธ์ของ Calcium Score กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในอนาคต
นอกจากหินปูนที่ตรวจพบ การตรวจ Calcium Score จะบ่งบอกถึงความเสื่อมของเส้นเลือด เหมือนการมีผมหงอกหรือผมบางในการแสดงความเสื่อมของหนังศีรษะ ปริมาณหินปูนที่พบยังสัมพันธ์กับปริมาณตะกรันในหลอดเลือด (Plague burden) คือ ค่ายิ่งมากแปลว่าหลอดเลือดยิ่งเสื่อมมาก
ที่สำคัญที่สุด “ปริมาณหินปูนที่ตรวจพบจะบอกถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจใน 5-10 ปีข้างหน้า” ได้อย่างชัดเจน
โดยวงการแพทย์ทั่วโลกทราบความจริงข้อนี้มากว่า 20 ปี มีการศึกษาทั้งในอเมริกาและยุโรป ทั้งในประเทศไทยเองก็มีอาจารย์แพทย์จำนวนมากที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญ โดยจากข้อมูลตัวอย่างในงานวิจัยในฝั่งอเมริกา MESA study ที่ทำมานานกว่า 20 ปี มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 2,000 ฉบับ ก็มีแง่มุมที่สำคัญ เช่น
คนที่มีค่าหินปูน (CAC) เท่ากับ 0 มีโอกาสเกิดโรคหัวใจใน 5 ปี น้อยกว่า 1%ในขณะที่ถ้า CAC มากกว่า 300 โอกาสเกิดโรคสูงกว่า 10%
การเกิดความเสื่อมของเส้นเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ใช่กระบวนการเพียงข้ามคืน แต่ต้องใช้เวลาหลายปีก่อนมีอาการแสดง การที่ตรวจพบช้าเมื่อคนไข้มีอาการแล้ว อาจถือว่า “เราเจอกันช้าไป” ความพยายามตรวจหาเส้นเลือดที่เสื่อมก่อนมีอาการ เพื่อการดูแล ชะลอ และป้องกันการเกิดโรค จึงเป็นแนวคิดหลักของการตรวจ Calcium Score นี้ ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
ตกขาวที่ปกติสามารถสังเกตได้โดย ตกขาวจะไม่มีกลิ่น และไม่คัน แต่ในบางครั้งตกขาวอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย ซึ่งคุณผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital