การตรวจสุขภาพ โดยแพทย์จะพิจารณาจากหลายปัจจัย ทั้งการซักประวัติ ประวัติสุขภาพและความเสี่ยงของโรค ที่สำคัญ ผู้เข้ารับการตรวจต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงอย่างครบถ้วนแก่แพทย์ เพื่อการเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งมีเกณฑ์ที่ผู้เข้ารับการตรวจควรรู้ ดังนี้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (Electrocardiogram) โดยปกติแล้วหัวใจสามารถทำงานได้ด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ อีกทั้งยังมีผลต่อการทำงานที่สัมพันธ์กันของหัวใจทั้ง 4 ห้อง หากไฟฟ้าที่ทำการควบคุมการทำงานเกิดความผิดพลาดจะส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจให้ผิดปกติได้รวมถึงการดูเรื่องของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และห้องหัวใจที่โตผิดปกติ
ขั้นตอนในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ก่อนเข้ารับการตรวจผู้ตรวจควรให้ข้อมูลกับแพทย์หากมีการกินอาหารเสริมหรือใช้ยาบางตัวอยู่ เพื่อรับคำแนะนำในการเตรียมตัว แต่โดยปกติแล้วผู้ตรวจสามารถทานอาหารได้ตามปกติ
ผู้ตรวจต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยปกติการตรวจจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที
ผู้ตรวจนอนหงายบนเตียงแพทย์จะทำการติดจุดรับกระแสไฟฟ้าตามอวัยวะทั้ง 3 คือ หน้าอกโดยจะติด 6 จุด รวมไปถึงติดแขน และขาด้วย
ผู้ตรวจควรอยู่ให้นิ่งที่สุด จากนั้นผลลัพธ์จะปรากฏบนจอ และแพทย์จะทำการพิมพ์ผลลัพธ์ดังกล่าวออกมาเป็นอันเสร็จสิ้น
หลังการตรวจหากผลที่ออกมาเป็นปกติจะสามารถกลับบ้านได้ทันที แต่หากผลตรวจออกมาผิดปกติอาจจำเป็นต้องทำการตรวจอีก 1 ครั้งหรือนำการตรวจรูปแบบอื่นเข้าร่วมด้วย เช่น การเดินสายพานและตรวจคลื่นหัวใจไปด้วย (EST)
ตรวจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง Echo : เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram, Echocardiography) เพื่อตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวตรวจส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่างๆ ก็จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านี้มาแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ และตำแหน่งหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้าและออกจากหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจสุขภาพหัวใจ
ผู้รับการตรวจนอนบนเตียงราบ เจ้าหน้าที่ทำการติดอุปกรณ์แผ่นคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้บริเวณทรวงอกเพื่อเฝ้าสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และดูอัตราการเต้นของหัวใจ จากนั้นแพทย์จะใช้หัวตรวจใส่เจล และถูตรวจบริเวณหน้าอกและใต้ราวนม ใช้เวลาในการตรวจ 20-45 นาที ระหว่างการตรวจผู้รับการตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บ
การตรวจวัดระดับแคลเซียม (CT Calcium Score) หรือหินปูนที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงและจะเกิดการสะสมก่อนอาการของโรคหัวใจนานหลายปี ปริมาณแคลเซียมนี้สามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เพื่อหาทางป้องกันรักษาการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ทั้งการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต การรับประทานยา หรือแม้แต่การเข้ารับการรักษาฉีดสีและขยายหลอดเลือดหัวใจได้ทันการ ซึ่งการตรวจวัดระดับแคลเซียมผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) ยังถือเป็นวิธีการที่สะดวก แม่นยำ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ที่สุด ในการตรวจหาภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันก่อนเกิดโรค และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack)
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ CT Calcium Score
การเตรียมตัว
การเข้ารับการตรวจวัดระดับแคลเซียมผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) ผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดมากมาย แค่หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน กาแฟ ชา ต่างๆ สูบบุหรี่ และการออกกำลังกายก่อนเข้ารับการตรวจ 4 ชั่วโมง
การทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ EST : เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะทำงานหนัก (Exercise Stress Test) โดยใช้หลักการกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเหมือนการออกกำลังกาย การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ดี หากผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ มีผลให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แสดงออกมานั้นผิดปกติ
ขั้นตอนการตรวจสุขภาพหัวใจ
เจ้าหน้าที่จะติดอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จากนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะเริ่มเดินช้าๆ บนเครื่องเดินสายพาน และค่อยๆ เพิ่มความเร็วและความชันของสายพาน โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ในระหว่างนั้นจะมีการวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ หากผู้รับการตรวจมีภาวะหัวใจขาดเลือดจะส่งผลให้คลื่นไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอในการวินิจฉัยแล้วแพทย์จะให้หยุดการเดินบนสายพาน
*ไม่สามารถเห็นโครงสร้างของหัวใจได้ ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่างๆ และผู้ที่อายุมาก*
ติดต่อสอบถาม & นัดหมายเข้ารับบริการได้ที่
02-481-5555 ต่อ 1700 ,1710 ( แผนกอายุรกรรม ) เวลา 08.00-20.00 น.
---------------------
“คิดถึงสุขภาพคิดถึงเรา โรงพยาบาลอินทรารัตน์”
“Quality Care You Can Trust”
---------------------
ติดตามข่าวสารของโรงพยาบาลอินทรารัตน์ได้ที่
•Website : www.intrarathospital.co.th
•Line official ID : @intrarathospital
•Facebook : โรงพยาบาลอินทรารัตน์
-------------------------------------------------
ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นอาการที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยพบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งหากมีอาการอักเสบบ่อยๆ เป็นเรื้อรังจนถึงขั้นรุนแรงได้ ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามหากคุณมีอาการเจ็บคอ บ่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่อมทอนซิลอักเสบ
การตรวจ CT (Computerized Tomography) และ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ที่ถือว่าเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจวินิจฉัยที่สำคัญมาก การตรวจหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ มีความแตกต่างที่สำคัญหลายอย่าง ดังนี้
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital