ทำความรู้จัก “โรคกระดูกพรุน”
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ร่างกายมีความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกบางลง หักง่ายขึ้น และผิดรูปยุบตัวได้ ถ้าเกิดในส่วนกระดูกสันหลังจะทำให้กระดูกยุบตัวลงละส่งผลให้ส่วนสูงลดลงด้วย
สิ่งที่น่ากังวลใจ คือผลจากโรคกระดูกพรุน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง บางครั้งกระดูกอาจจะบางจนไม่สามารถรับน้ำหนักตัวเองได้ด้วยซ้ำ โดยกระดูกที่มักพบการหักได้บ่อย คือ สะโพก ข้อมือ และสันหลัง อาจจะเกิดหลังการบาดเจ็บแม้เพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะส่วนกระดูกสันหลังที่หากเกิดการแตกหักอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการเคลื่อนไหวถาวรได้ หากเกิดการกดทับถึงไขสันหลังที่เป็นศูนย์ควบคุมระบบประสาทความรู้สึกและการเคลื่อนไหว
สังเกตอาการ “โรคกระดูกพรุน”
กระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบ เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากโรคนี้มักไม่มีอาการเตือนใดๆ กว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหักเสียแล้ว หรืออาจจะพบอาการของกระดูกที่ยุบตัวลง อาทิ
สาเหตุสำคัญของ “โรคกระดูกพรุน”
กระดูกประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) และเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน “เซลล์สร้างกระดูก” ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ สะสมแคลเซียม และช่วยสร้างกระดูกซ่อมแซมกระดูกส่วนที่บาดเจ็บสึกหรอ ส่วน “เซลล์สลายกระดูก” ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก เพื่อปรับเพิ่มปริมาณแคลเซียมในเลือดเมื่อแคลเซียมในเลือดไม่เพียงพอต่อการใช้งานใรระบบอื่นของร่างกาย และสลายกระดูกในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อปรับรูปร่างของกระดูก
หากเซลล์กระดูกที่ทำงานไม่สมดุลกัน จึงทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกที่ส่งผลให้เป็น “โรคกระดูกพรุน” นั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เพิ่มโอกาสเป็น “โรคกระดูกพรุน”
นอกจากความผิดปกติของเซลล์กระดูกแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น “โรคกระดูกพรุน”
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัย
“โรคกระดูกพรุน” เกิดได้กับทุกคน หากพบความผิดปกติเร็ว และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ไว ผู้ป่วยก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density หรือ BMD) โดยความหนาแน่นของกระดูกของผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) จะมีค่า BMD อยู่ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5 และวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเมื่อมีค่า BMD น้อยกว่า -2.5
วิธีรักษา “โรคกระดูกพรุน”
มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิด “โรคกระดูกพรุน” แต่ปัจจัยสำคัญคือการทำงานของเซลล์กระดูกที่ผิดปกติ ฉะนั้นหลักการรักษาจึงต้องกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก ซึ่งทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ดูแลโภชนาการ ออกกำลังกายที่เหมาะสม การใช้ฮอร์โมนทดแทน การรับประทานยา การฉีดยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละราย
กระดูกพรุน ป้องกันได้
สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ โดยการดูแลใส่ใจสุขภาพและบำรุงกระดูกด้วยวิธีต่างๆ เช่น
ศัลยแพทย์กระดูก-ข้อ /ออร์โธปิดิกส์และผู้เชี่ยวชาญทางเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ริดสีดวงทวาร ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักเกิดการปูด บวมหรืออักเสบ จนเกิดเป็นก้อนนูนออกมาจากผนังของช่องทวารหนัก และเป็นอุปสรรคในการขับถ่าย สาเหตุที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร เช่น ภาวะท้องผูก การเบ่งอุจจาระนาน ๆ การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย อาหารรสจัด หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตกขาวที่ปกติสามารถสังเกตได้โดย ตกขาวจะไม่มีกลิ่น และไม่คัน แต่ในบางครั้งตกขาวอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย ซึ่งคุณผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital