การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะทำงานหนัก โดยการกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเหมือนขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนลู่วิ่ง (Treadmill) หรือขี่จักรยานอยู่กับที่ (cycling) ซึ่งจะได้ข้อมูลการตรวจเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่สามารถนำมาวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และอีกหลายโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ
ใครบ้างที่ควรตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ?
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) คือผู้ที่มีพฤติกรรมและมีความเสี่ยง ดังนี้
ทั้งนี้ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ผู้ป่วยโรคหัวใจโต รวมถึงผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้
ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)
เจ้าหน้าที่จะติดอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือแผ่นอิเล็กโทรด (Electrode) ที่บริเวณหน้าอก 6 จุด ที่แขนและขาอีก 4 จุด รวมเป็น 10 จุด และพันแผ่นผ้าวัดความดันโลหิตที่แขนอีก 1 จุด จากนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะเริ่มเดินช้าๆ บนเครื่องเดินสายพาน (Treadmill) ซึ่งแพทย์ที่ทำการตรวจจะค่อยๆ เพิ่มความเร็วและความชันของสายพานไปเรื่อยๆ โดยจะใช้เวลาในการเดินบนลู่วิ่งเฉลี่ยประมาณ 6 -12 นาที จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพัก (Recovery Stage) อีกประมาณ 5 -10 นาที รวมเวลาการตรวจทั้งหมดราว 20 - 30 นาที ในระหว่างนั้นจะมีการวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ ร่วมด้วย
ขณะทดสอบ หากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะหัวใจขาดเลือดจะส่งผลให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง บางรายอาจเกิดอาการเจ็บหรือจุกแน่นหน้าอก ทั้งนี้การตรวจจะอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์เฉพาะทาง จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัย กรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่สามารถเดินบนลูวิ่งได้ เช่น เป็นผู้สูงอายุ มักใช้การขี่จักรยานอยู่กับที่ (cycling) แทน
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)
แพทย์จะประเมินผลการตรวจจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยสามารถวินิจฉัยได้ถึงความเสี่ยงและการเกิดโรคต่างๆ เช่น
อายุรแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด
พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปีนั้น จะมีการเติบโตทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็ว
อาการของโรคไข้เลือดออกนั้นมีตั้งแต่อาการเป็นไข้สูงลอย อย่างเดียว ไปจนถึง เกิดภาวะช็อกในคนที่ได้สายพันธ์ุรุนแรงมา Dengue Shock Syndrome
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital