พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปี

พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปี

06/06/2567 14:12:21 | Views: 1,137

คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้ที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเด็กจะเรียนรู้ และเลียนแบบ รวมถึงมีความต้องการปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา จึงเป็นการสะท้อนถึงการให้ความรัก การเอาใจใส่ การสังเกต และการพยายามทำความเข้าใจสัญญาณที่เด็กส่งออกมาผ่านการร้องและการเคลื่อนไหว

เพื่อให้คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูตอบสนองความต้องการอย่างถูกต้อง เมื่อคุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงแสดงออกซ้ำๆ จนทำให้เด็กมีความสุขและพึงพอใจ จะเป็นการพัฒนาความมั่นใจ และการไว้วางใจต่อไป

การสังเกตพัฒนาการของลูกน้อย ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อ-คุณแม่ รวมถึงผู้เลี้ยงต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อที่จะกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม


อายุ 1 เดือน
พัฒนาการ : มองจ้องหน้าคุณแม่แล้วยิ้ม ยกศีรษะได้บ้าง สะดุ้ง ขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงพูด
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ : อุ้มชู พูดคุยกับเด็กของเล่นที่เน้นเรื่องเสียง และการเคลื่อนไหว เช่น โมบายดนตรี

อายุ 2 เดือน
พัฒนาการ : หันตามเสียงได้มองตามถึงกึ่งกลางลำตัว ยิ้มตอบ ทำเสียง “อู” อือ” ในลำคอ ชันคอได้ 45 องศา นาน 3 วินาที

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
ให้เด็กนอนหงาย ก้มหน้าไปพูดคุยใกล้ๆ เด็ก โดยห่างจากหน้าเด็กประมาณ 20 ซม.
➽ เรียกชื่อเด็ก เมื่อเด็กสนใจมอง ให้เอียงหน้าไปด้านข้างลำตัวเด็กช้าๆ เพื่อให้เด็กมองตาม
➽ ใช้ของเล่นมีเสียง สีสันสดใส กระตุ้นให้เด็กสนใจ และมองตาม

อายุ 3 - 4 เดือน
พัฒนาการ : เริ่มพลิกคว่ำได้ ก้มได้ มองตามสิ่งของได้ 180 องศา ยิ้ม ทักทายส่งเสียงโต้ตอบหัวเราะเสียงดังกับคนคุ้นเคย พยายามยกแขนขึ้นมาเล่นคว้าจับของเล่น

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
✔  ในเด็กนอนหงาย ก้มหน้าไปพูดด้วยระยะ 30 ซม. เรียกชื่อเด็กให้หันมองแล้วค่อยๆ เคลื่อนหน้าคุณพ่อ-คุณแม่ช้าๆ จากซ้ายไปขวา
✔  เขย่าของเล่น ขยับไปซ้าย ขวาให้เด็กมองตาม
✔  พูดคุย สัมผัสกับเด็ก
✔  กระตุ้นให้ยิ้มให้กับคนคุ้นเคย
✔  กระตุ้นให้เด็กฝึกจับกำของเล่น

อายุ 5 - 6 เดือน
พัฒนาการ : พลิกคว่ำและหงายได้ นอนใช้แขนยันตัวขึ้นตรง เริ่มนั่งได้และมีคนประคอง จับของเปลี่ยนมือได้ หยิบของเข้าปาก เริ่มรู้จักแปลกหน้า  สนใจเสียงพูด ทำเสียงเลียนแบบ

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
✔  ให้เด็กนั่ง พยุงตัวเด็ก พูดคุยและเล่นกับเด็ก
✔  ใช้ริมฝีปากทำเสียง จุ๊บจุ๊บ กระตุ้นการออกเสียงวาวา
✔  ร้องเพลงให้เด็กฟัง
✔  ให้ใช้มือหยิบและเขย่าของเล่น

อายุ 7 - 8 เดือน
พัฒนาการ : นั่งเองโดยไม่ต้องมีคนประคอง จับของชิ้นใหญ่ มากัด ชิม ขว้าง รู้จักชื่อตัวเอง และหันตามเสียงเรียกชื่อ เลียนเสียงพูดคุย 

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
✔  กระตุ้นให้เด็กนั่งเอง วางของไว้ด้านหน้าและเยื้องไปด้านหลัง ให้เด็กเอียงตัวหยิบ
✔   กระตุ้นให้เด็กยืนเกาะเครื่องเรือนเอง
✔   เปิดเพลงให้เต้นตามจังหวะเพลง
✔   เรียกชื่อเด็กบ่อยๆ
✔   พูดคุยออกเสียงตามทำนองเพลง ให้เด็กทำเสียงตาม
✔   เล่นจ๊ะเอ๋กับเด็ก

อายุ 9 เดือน
พัฒนาการ : กลัวคนแปลกหน้า นั่งตัวตรงได้ ตั้งไข่ เกาะยืน ลุกจากที่นอนได้  ทิ้งของลงพื้นแล้วมองตาม  โบกมือ ตบมือ  ติดแม่  เลียนเสียงคำพูด รู้จักปฏิเสธโดยใช้ท่าทาง ใช้มือหยิบอาหารทานได้ เล่นจ๊ะเอ๋ได้ 

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
✔   จัดให้เด็กเกาะเดิน
✔   เล่นกับเด็กโดยใช้คำสั่งง่ายๆ เช่น โบกมือ ตบมือ
✔   เปลี่ยนเสียงที่เด็กทำได้แล้ว เช่น ป๊ะ จ๊ะ จ๋า
✔   วางอาหารตรงหน้าเด็ก จับมือเด็กหยิบอาหารใส่ปาก 
✔   เล่นจ๊ะเอ๋กับเด็ก

อายุ 10 - 12 เดือน
พัฒนาการ : ยืนนาน 2 นาที (ตั้งไข่)จีบนิ้ว หยิบของชิ้นเล็กๆได้โบกมือ ตบมือ ตามคำสั่ง แสดงความต้องการโดยการใช้ ท่าทาง หรือเปล่งเสียง  หยิบของใส่ถ้วย ให้ของเวลาขอ เรียก “พ่อ” “แม่” พูดเป็นคำพยางค์เดียวที่มีความหมายได้ 

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
✔   ทำอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้เด็กฝึกใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้หยิบ
✔   เล่นกับเด็กโดยใช้คำสั่งให้โบกมือ ตบมือ
✔   พยุงให้เด็กยืนแล้วจับข้อมือเด็กค่อยๆ ปล่อยจนยืนเองได้นานมากขึ้น
✔   พูดคุยกับเด็กช้าๆ ชัดๆ หรืออ่านนิทาน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น

อายุ 13 - 15 เดือน
พัฒนาการ : เดินได้เอง ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆ บนกระดาษ พูดคำพยางค์เดียวได้มากขึ้น บอกชื่อสิ่งของได้ 4-5 อย่าง ต่อชั้นไม้ได้ 2 ชั้น ชี้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามคำบอก ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ เลียนแบบท่าทางการทำงานบ้าน ดื่มน้ำจากถ้วย 

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
✔   ให้ใช้ดินสอแท่งใหญ่ๆ หัดเขียน
✔   ฝึกสอนให้รู้จักวัตถุให้ชี้บอกได้
✔   สอนให้เด็กพูดคำสั้นๆ ในเหตุการณ์จริง เช่น ก่อนป้อนข้าวพูด "หม่ำ"
✔   อ่านนิทานให้ฟัง
✔   หาอุปกรณ์ที่เหมาะกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วม ทำงานบ้านหากทำได้ให้ชมเชย

อายุ 1 ปี 6 เดือน
พัฒนาการ : เดินได้คล่อง เปิดหน้าหนังสือ ต่อก้อนไม้สองชิ้น ลากเส้นเป็นเส้นตรงแนวดิ่ง รู้จักวัตถุ เช่น ตุ๊กตา บอล รถ  พูดเลียนเสียงคำสุดท้ายของคำพูด รู้จักขอหรือทำตามคำสั่งง่ายๆได้ดี กินเองได้ ถอดกางเกงได้เอง 

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ : ฝึกขับถ่าย หัดแปรงฟัน ร้องเพลง เล่นเกมส์ง่ายๆ ของเล่นใช้มือ สอนระเบียบวินัย ชมเชยเมื่อพฤติกรรมพึงประสงค์  ให้ช่วยแต่งตัว สอนสวัสดี ธุจ้า อ่านหนังสือ ฝึกพูดคำตามรูปภาพ

อายุ 2 ปี
พัฒนาการ : พูดสองคำติดกัน ใช้ช้อนตักอาหารกินได้ กระโดดเท้าพ้นพื้นทั้งสองข้าง เดินขึ้นบันไดแบบพักเท้าได้  ชี้อวัยวะ 6-7ส่วน  พูดตอบรับปฏิเสธได้ ต่อก้อนไม้ 4-6 ก้อน เตะลูกบอลได้  ล้างมือเองได้ บอกถ่ายอุจจาระได้ทุกครั้ง บอกถ่ายปัสสาวะได้บางครั้ง ทำตามคำสั่งแบบเป็นลำดับต่อเนื่องได้มากขึ้น เช่น ปิดหนังสือแล้วส่งให้หมอ

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ : พูดสองคำให้เด็กฟังบ่อยๆ อย่างเช่น ไปนอน  ร้องเพลงแล้วเว้นวรรคให้เด็กร้องต่อ หัดให้ทานอาหารเอง จับมือเด็กฝึกกระโดดจากบันไดขั้นที่ติดกับพื้น  ฝึกกระดดที่พื้น  ฝึกให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง สอนอวัยวะต่างๆ

อายุ 2 ปี 6 เดือน
พัฒนาการ : กระโดดสองขา ขว้างลูกบอล กระโดดข้ามเชือกไปข้างหน้าได้ ลากเส้นตรงเป็นแนวนอน สนใจฟังนิทาน 5 นาที พูดติดต่อกัน 2 คำขึ้นไปอย่างมีความหมาย บอกชื่อสัตว์ได้ ใส่กางเกงเองได้

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :  พูดคุยรับฟังเด็ก อ่านนิทานให้ฟัง ร้องเพลงกับเด็ก ขว้างลูกบอลให้เด็กดู  สอนให้รู้จักข้างบนข้างล่าง ฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง

อายุ 3 ปี
พัฒนาการ : วาดวงกลมได้ ช่วยตัวเองได้ในกิจวัตรประจำวัน มีการแสดงออกทางอารมณ์ รู้จักให้และรับ รู้จักรอ ยืนขาเดียว 1 วินาที พูดติดกัน 3-4 คำ เป็นประโยคมากขึ้น บอกความต้องการได้ บอกชื่อ เพศตัวเองได้ บอกสีได้ 1 สี

วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ : ฝึกวาดวงกลม  ฝึกใส่กางเกงเอง อ่านนิทาน ถามคำถามง่ายๆ พูดคุย ร้องเพลง ฝึกยืนขาเดียว ฝึกทำกิจวัตรประจำวัน

พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจแตกต่างได้บ้างเล็กน้อย ไม่ต้องทำได้ตรงเป๊ะตามวัยก็ได้ แต่หากคุณพ่อ-คุณแม่สงสัย หรือไม่แน่ใจเรื่องพัฒนาการของลูกน้อย สามารถพาน้องเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลอินทรารัตน์ รามอินทรา กม.9 ได้เลยนะคะ


บทความน่ารู้

MIS-C ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก..อันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

MIS-C ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก..อันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการของโรคโควิด-19 หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย อายุเฉลี่ยของเด็กที่พบอาการของโรคโควิด-19 หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

เช็คสถานะคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย  (Electrocardiography)

เช็คสถานะคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย (Electrocardiography)

การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจเบื้องต้น เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น หรือได้เกิดขึ้นไป