โดยปกติแล้วหมอนรองกระดูกสันหลังมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังในเวลาที่เคลื่อนไหว หรือรับแรงกดในการยกของ ภายในมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ เมื่อรับแรงกดมากจนเกินไป หรือ เมื่ออายุมากขึ้นปริมาณของน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังจะลดลง ทำให้ความยืดหยุ่นน้อยลง หมอนรองกระดูกอาจแตกออกไปกดทับเส้นประสาทก็จะมีอาการปวดแสดงออกมาตามแนวของเส้นประสาทนั้น
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่สังเกตได้
▪ ปวดหลัง ปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ
▪ ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า หรือ ชาขา
▪ เดินได้ไม่ไกล เดินแล้วมีอาการปวดหรือชาลงขาหรือเป็นตะคริวร่วมด้วย ต้องหยุดพัก แล้วจึงจะเดินต่อไปได้
▪ อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขา กระดกข้อเท้าไม่ได้ เดินแล้วรองเท้าหลุด
▪ บางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่าย
หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทพบมากในวัยไหน?
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทพบมากใน 2 กลุ่ม ได้แก่
ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเริ่มมีความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกออกมากดทับเส้นประสาทได้
วัยหนุ่มสาวที่ทำกิจกรรมเยอะ ออกกำลังกายหนัก ๆ ยกของหนัก กีฬาโลดโผน หรือเคยมีอุบัติเหตุ มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่ายกว่า คนที่ทำกิจกรรมเยอะจะมีความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังมากกว่า แต่ในคนที่ใช้งานกระดูกสันหลังไม่ถูกต้อง อยู่ในท่าที่มีแรงกดในกระดูกสันหลังนานๆ เช่น ออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกสันหลังก็เสื่อมได้เช่นกัน
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาอย่างไร ?
สำหรับวิธีการดูแลรักษา แพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัย โดยเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น การเอกซเรย์กระดูกสันหลังในท่าทางต่างๆ และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อหาสาเหตุและวางแผนแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในเบื้องต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถทำได้ ดังนี้
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงการก้มเงย หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
• ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลังและหน้าท้องให้แข็งแรง
• ฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
• การใช้ยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น
• การฉีดยาเข้าไปยังตำแหน่งใกล้เส้นประสาทซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด และการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาได้ หากคุณกำลังเผชิญปัญหาอาการปวดหลัง หรือภาวะเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เมื่อระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกจะตกตะกอนในรูปของผลึกเกลือยูเรตในข้อต่อต่างๆ
ปวดหู (Earache/Ear Pain) เป็นอาการปวดบริเวณหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน อาจปวดในลักษณะตื้อ ๆ เจ็บแปลบ หรือรู้สึกแสบร้อน ซึ่งอาการปวดส่วนใหญ่จะอยู่ไม่นานแล้วค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายไป มักพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และปวดหูเกิดจากอะไรได้บ้าง เรามีคำตอบ
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital