“ลดอ้วน…ด้วยบอลลูน”   ใส่บอลลูนลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด

“ลดอ้วน…ด้วยบอลลูน” ใส่บอลลูนลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด

30/08/2566 14:18:10 | Views: 7,710


วิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด

ซึ่งจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและจะทำให้รับประทานอาหารได้ลดลง ซึ่งวิธีนี้มีมานานแล้วและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ การใส่บอลลูนจะเหมือนส่องกล้องกระเพาะอาหารทั่วไปหลังจากนั้นจะใส่น้ำที่ผสมกับ สารสีฟ้าเรียกว่า เมธิลีนบลู เข้าไปในบอลลูนประมาณ 400 ถึง 500 ซีซี แล้วจึงนำกล้องออก โดยบอลลูนสามารถปรับขนาดเพิ่มหรือลดได้ตามความต้องการในภายหลัง สามารถใส่บอลลูนนานสูงสุด 1 ปีแต่หากพอใจในน้ำหนักที่ลดลงก็สามารถเอาบอลลูนออกก่อน 1 ปีได้ โดยปล่อยน้ำในบอลลูนออกและส่องกล้องเพื่อนำบอลลูนออกจากกระเพาะอาหาร

1. BMI ที่เหมาะกับการใส่บอลลูน
            ประมาณ 27 และไม่เกิน 50 การใส่บอลลูนในครั้งแรกควรปรับขนาดบอลลูน 500 ซีซี ซึ่งถ้ารูปร่างคนไข้ไม่สูงใหญ่มากอาจจะปรับขนาด 400 ถึง 450 ซีซี

2. การเตรียมตัวก่อนใส่บอลลูน
          -  กินยาลดกรด (PPI) ก่อนอาหารเช้าและเย็น 14 วัน
          - งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
          - ตรวจ EKG / Lab Pre Operation
          - ส่องตรวจกระเพาะอาหารเพื่อดูความพร้อมของกระเพาะอาหาร

3. การปฏิบัติตัวหลังใส่บอลลูน
- Admit 2 วัน (อาการคลื่นไส้ อาเจียนประมาณ 2-3 วันแรก เป็นอาการปกติ)
- กินยาแก้อาเจียน
- แจ้งโภชนาการให้คนไข้ทราบ 1-7 วันแรก ให้รับประทานอาหารเหลวเช่น ซุป,ต้มจืด,น้ำผลไม้,นม,โยเกิร์ต ซึ่งอาหาร ต้องไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป
- แจ้ง Follow up กับแพทย์เดือนละ 1 ครั้ง
- แจ้งปรับเพิ่มขนาดบอลลูนเมื่อครบ 6 เดือน หรืออาจจะปรับเพิ่มเร็วกว่านั้นหากน้ำหนักเริ่มคงทื่

4.รายละเอียด Package
- Admit 1-2 วัน
- ค่าแพทย์
- ค่าอุปกรณ์การแพทย์
- ค่ายา
- ค่าส่องกล้องเพื่อใส่บอลลูนและถอดบอลลูน (อาจจะรวมหรือไม่รวมการปรับเพิ่มขนาดบอลลูน)
- Follow up เพื่อดูน้ำหนักและสัดส่วนเดือนละ 1 ครั้ง

5. ข้อแนะนำ
- คนไข้ที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหารและเคยผ่าตัดในระบบทางเดินอาหารไม่แนะนำให้ใส่บอลลูน

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
02-481-5555 ต่อ 1700 (แผนกอายุรกรรม)
เวลาทำการ 08.00-20.00 น.

บทความน่ารู้

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังหรือส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังออกจากตำแหน่งปกติไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง

กระดูกพรุนระยะแรกไม่มีอาการ..!!

กระดูกพรุนระยะแรกไม่มีอาการ..!!

ตรวจมวลกระดูก...เพื่อค้นหาความเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุน