ข้อสะโพกเสื่อม อันตรายอย่าปล่อยไว้

ข้อสะโพกเสื่อม อันตรายอย่าปล่อยไว้

28/05/2567 15:18:07 | Views: 1,841

อาการโรคข้อสะโพกเสื่อม
การสังเกตอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด

  • มีอาการปวดสะโพกเรื้อรังทั้งในขณะขยับตัวและตอนนอนหลับ รู้สึกตึงเมื่อลุกนั่งเจ็บเวลาเดินลงน้ำหนัก และขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
  • มีอาการปวดสะโพก และอวัยวะข้างเคียง เช่น ขาหนีบ ก้นกบ โดยเฉพาะเวลาเดินขึ้น-ลง บันได หรือ การนั่งยองๆ
  • ขยับข้อ งอข้อ และเหยียดข้อ ได้ไม่สะดวก รู้สึกว่ามีอะไรขัดข้ออยู่ ไม่สามารถขยับข้อได้สุด
  • มีเสียงดังที่ข้อสะโพก เมื่อมีการขยับ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
หลายคนคิดว่าโรคข้อสะโพกเสื่อมมักเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ความจริงแล้วโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย ซึ่งสาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้

  • พันธุกรรม
  • อายุ
  • การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวกระดูกต้นขา ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาบางชนิด รวมถึงการใช้สเตียรอยด์
  • การติดเชื้อ
  • การบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพก
  • ความผิดปกติของข้อสะโพก

การป้องกันข้อสะโพกเสื่อม

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป
  • ควรออกกำลังกาย แบบลดแรงกระแทก เช่น การเดินในน้ำ และการปั่นจักรยาน เป็นต้น

วิธีการรักษาผู้ที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม

  • เริ่มจากการตรวจซักประวัติ และตรวจร่างกาย เพื่อประเมินอาการ และหาสาเหตุ
  • ทำการตรวจด้วยการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ หากยังไม่ได้การวินิจฉัยที่ชัดเจน จะใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติมโดยเครื่อง MRI Scan ที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยให้ได้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัดเริ่มจากพักการใช้งานสะโพก การพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง และการรับประทานยาแก้ปวดตามอาการ หรือหากจำเป็นอาจจะใช้การรักษาด้วยยาฉีด
  2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัด มีหลายวิธี ตามแต่สาเหตุและความรุนแรงของโรค รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในกรณีที่คนไข้มีภาวะความเสื่อมมาก ข้อสะโพกผิดรูป และมีอาการเจ็บปวดรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต เช่น เดินไม่ได้ หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

โรคข้อสะโพกเสื่อม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้งานร่างกายอย่างหนักในชีวิตประจำวัน เคยได้รับบาดเจ็บมาก่อน หรือโรคประจำตัว เป็นต้น แต่เมื่อเกิดอาการเจ็บปวดหรือเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวแล้วนั้น ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อประเมินระดับความรุนแรง และป้องกันความเสื่อมที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึง การวางแผนการรักษาซึ่งมีทั้งวิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัดหรือการรักษาโดยการผ่าตัดตามข้อบ่งชี้และดุลยพินิจของแพทย์ ว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงทีและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


บทความโดย

นพ.ปิยะ อัศวบุญญาเดช
นพ.ปิยะ อัศวบุญญาเดช

ศัลยแพทย์กระดูก-ข้อ /ออร์โธปิดิกส์และผู้เชี่ยวชาญทางเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน


บทความน่ารู้

หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม รักษาได้

หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม รักษาได้

อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมในผู้ที่อาการไม่รุนแรง คือ อาการปวดตื้อๆ บริเวณเอว อาจมีอาการปวดร้าวลงกล้ามเนื้อด้านข้างของหลังและสะโพก

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดกระดูกสันหลัง มักเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะที่ต้องการแก้ไขที่สันหลัง เช่น การได้รับบาดเจ็บจากการบาดเจ็บของกระดูกหรือเนื้อเยื่อรอบๆ สันหลัง