ภาวะวัยทอง เพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม มีการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อรักษาภาวะวัยทองนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงควรปรึกษาและทำการรักษาโดยแพทย์เท่านั้น
ภาวะวัยทอง คือ ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพลง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุอยู่ในช่วง 45-55 ปี แต่ผู้หญิงจะแสดงอาการชัดเจนกว่า
สตรีวัยหมดประจำเดือน (Menopause) หรือ สตรีวัยทอง คือ ผู้หญิงที่สิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องมาจากการที่รังไข่หยุดการสร้างฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ส่งผลให้เกิดอาการวัยทองต่างๆ เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก อารมณ์แปรปรวน รบกวนการนอนหลับ พลังงานลดลง รวมถึงร่างกายเริ่มมีการเสื่อมถอยลง น้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นจากการที่ร่างกายมีการเผาผลาญน้อยลง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อมอีกด้วย
ซึ่งสตรีจะได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก็ต่อเมื่อประจำเดือนไม่มาต่อเนื่องครบ 1 ปีไปแล้ว ทั้งนี้ วัยหมดประจำเดือนสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 45 - 55 ปี โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 51 ปี นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้างออกก่อนที่จะถึงวัยหมดประเดือน
1. โปรแกรมตรวจสุขภาพวัยทอง (ผู้ชาย)
ราคา 1,900
2. โปรแกรมตรวจสุขภาพวัยทอง (ผู้หญิง)
ราคา 1,900
Copyright @ 2021. All Rights Reserved By Intrarat Hospital