CT scan คืออะไร

CT scan คืออะไร

24/07/2567 14:46:29 | Views: 1,264

โรคและอาการที่การทำ CT scan สามารถบอกได้

  1. เนื้องอกในอวัยวะต่างๆ โดยบอกได้ทั้งขนาด ลักษณะ ตำแหน่ง ความรุนแรงในการกัดกินเนื้อเยื่อข้างเคียง
  2. การแพร่กระจายของเนื้องอก ทั้งไปยังต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่นๆ มีประโยชน์ในการพยากรณ์โรค และวางแผนการรักษา
  3. การบาดเจ็บภายใน เช่น เลือดออกในสมอง ช่องท้อง หรืออวัยวะภายในฉีกขาด
  4. การอักเสบหรือติดเชื้อของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อน เช่น ไส้ติ่งอักเสบ  ติดเชื้อในปอด ฝีในตับ เป็นต้น
  5. โรคกระดูกต่าง ๆ CT scan สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคกระดูกได้หลากหลาย เช่น หัก ร้าว ผิดรูป หลุด รวมถึงภาวะวัณโรคกระดูก หรือมะเร็งกระดูก เป็นต้น
  6. ความผิดปกติของหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เช่น หลอดเลือดตีบ อุดตัน แตก หรือโป่งพอง เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ CT scan

  1. งดอาหารอย่างน้อย 4 ถึง 6 ชัวโมงก่อนการตรวจ(ดื่มน้ำเปล่าได้)
  2. ลงชื่อในใบยินยอมให้แพทย์ทําการตรวจและฉีดสารทึบรังสี
  3. ในผู้ป่วยเด็กทีไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้ แพทย์อาจจําเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกหรือดมยาสลบขณะตรวจ เพื่อผลการตรวจวินิจฉัยโรคถูกต้องยิ่งขึ้น
  4. ผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ โรคไต โรคหัวใจ ไทรอยด์เป็นพิษและโรคเบาหวาน ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที และในวันที่ตรวจควรมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน
  5. ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
  6. เปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องที่เตรียมไว้ให้ และถอดเครื่องประดับออกจากบริเวณทีต้องการตรวจ
  7. ในกรณีที่ผู้ป่วยตรวจภายในช่องท้อง อาจจําเป็นต้องดื่มหรือสวนสารทึบรังสีหรือน้ำเปล่าทีเจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ ประมาณ 1 ลิตร ก่อนเข้าห้องตรวจ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริเวณและความผิดปกติที่ต้องการตรวจ
  8. สตรีที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากการตรวจทางรังสีมีผลกระทบ ต่อทารกในครรภ์

 

ขั้นตอนการทำ CT Scan

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้สารทึบรังสีช่วยในการสแกนเพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนขึ้น ในการตรวจผู้ป่วยต้องนอนราบลงบนเตียงของเครื่องสแกน เตียงจะเคลื่อนเข้าไปจนส่วนที่ต้องการสแกนอยู่ตรงกับวงแหวน จากนั้นวงแหวนจะทำการฉายรังสีรอบตัวผู้ป่วย ในระหว่างตรวจจะได้ยินเสียงดังจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในบางารตรวจแพทย์จะให้กลั้นหายใจ ผู้ป่วยควรนอนให้นิ่งและปฏิบัติตามคําแนะนํา นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ตามปกติผ่านทางเครื่องสื่อสารด้วยเสียง โดยการสแกนจะใช้เวลา 10 ถึง 20 นาที หลังจากนั้นรังสีแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากข้อมูลภาพที่ได้

 

การดูแลตนเองหลังการทำ CT Scan

                หลังจากการตรวจผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และควรดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อขับสารทึบแสงออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ หากผู้ป่วยได้รับยาเพื่อคลายความกดดันก่อนการสแกนไม่ควรขับยานพาหนะด้วยตนเอง นอกจากนี้กรณีที่ผู้ที่ใช้สารทึบช่วยในการสแกนแพทย์จะให้อยู่ดูอาการก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และหากหลังการฉีดสารทึบรังสีผู้ป่วยมีอาการแพ้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาแก้แพ้ ซึ่งยาบางชนิดอาจทำให้มีอาการง่วงซึม

 

ข้อควรระวังจาก CT Scan

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรใช้วิธีนี้หากไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์
  • ไม่ควรทำการสแกนบ่อยเกินไปเนื่องจากอาจส่งผลต่อสุขภาพได้
  • หากผู้ใช้เป็นเด็กควรให้คำแนะนำและการเตรียมตัวเบื้องต้นก่อน
  • ต้องบอกข้อมูลโรคประจำตัว และประวัติการแพ้ยา
  • อาจมีวัตถุแปลกปลอมที่รบกวนการแปลผล เช่น เครื่องประดับ
  • หากมีอาการผิดปกติหลังการสแกนควรเข้าพบแพทย์ทันที เช่น หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นคัน ปากบวม เป็นต้น

บทความโดย

พญ.ณิชากร  สี่หิรัญวงศ์
พญ.ณิชากร สี่หิรัญวงศ์

รังสีแพทย์


บทความน่ารู้

สัญญาณเตือน ข้อสะโพกเสื่อม อันตรายอย่าปล่อยไว้

สัญญาณเตือน ข้อสะโพกเสื่อม อันตรายอย่าปล่อยไว้

เป็นรูปแบบของโรคข้อที่เกิดจากกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อเสื่อมไป จนบางลงหรือแตก เป็นหลุมขรุขระ จนทำให้เกิดการปวดและข้อติดขัด

ปวดหูบ่อย ปล่อยไว้อันตรายแน่

ปวดหูบ่อย ปล่อยไว้อันตรายแน่

ปวดหู เป็นอาการปวดบริเวณหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน อาจปวดในลักษณะตื้อ ๆ เจ็บแปลบ หรือรู้สึกแสบร้อน ซึ่งอาการปวดส่วนใหญ่จะอยู่ไม่นานแล้วค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายไป มักพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และปวดหูเกิดจากอะไรได้บ้าง เรามีคำตอบ