ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต

ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต

17/10/2566 11:06:32 | Views: 1,930

“หวานจนขึ้นตา” คำนี้หลายคนอาจเคยได้ยิน หรือพูดเล่น เมื่อดื่มน้ำหวานหรือกินขนมหวานมาก แต่รู้ไหมว่า ภาวะเบาหวานขึ้นจอตามีอยู่จริง เป็นภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากเป็นหนักส่งผลให้หลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งเส้นเลือดฝอยที่บริเวณจอประสาทตาด้วย ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะสูญเสียดวงตาในภาวะแทรกซ้อนนี้ โดยภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ก็มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย แต่ถ้าเป็นถึงขั้นรุนแรงแล้ว อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และจะตาบอดไปตลอดชีวิต

“ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา” เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจากเบาหวาน โรคยอดฮิตของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมา ทำให้เส้นเลือดตรงจอประสาทตาได้รับความเสียหาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

ในรายที่เป็นเบาหวานมานานและรุนแรง จะทำให้หลอดเลือดฝอยเล็กมีการอุดตัน ทำให้จอตาขาดเลือด ถ้ามีการขาดเลือดบริเวณจุดภาพชัดก็จะทำให้ตามัวมาก ในรายที่จอตาขาดเลือดรุนแรงจะเกิดหลอดเลือดฝอยงอกใหม่แผ่เป็นร่างแหคล้ายพัด (neovascularization) หลอดเลือดฝอยที่ผิดปกติเหล่านี้อาจแตก (รูปที่ 2) ทำให้เกิดเลือดออกในช่องน้ำวุ้นตารุนแรงตามมา หรือเส้นเลือดผิดปกติเหล่านี้อาจมีพังผืดมาหุ้มและดึงรั้งให้จอตาหลุดลอกรุนแรง (รูปที่ 3)


รูปที่ 1 เบาหวานขึ้นตาระยะที่ยังไม่มีเส้นเลือดงอกใหม่ มีจุดเลือดออกและไขมันสีเหลืองรั่วออกมาสะสมอยู่ในจอประสาทตา
รูปที่ 2 เบาหวานขึ้นตาระยะรุนแรง มีเส้นเลือดงอกใหม่ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา ทำให้ตามัว รูปที่ 3 เบาหวานขึ้นตาระยะรุนแรง มีเส้นเลือดงอกใหม่ มีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาลอก


เบาหวานขึ้นตาแบ่งเป็น 2 ระยะ ตามความรุนแรงของโรค  

  • เบาหวานขึ้นตาระยะแรก หรือระยะหลอดเลือดใหม่ไม่เติบโต (Nonproliferative diabetic retinopathy: NPDR)  เป็นระยะที่ผนังหลอดเลือดในเรตินาอ่อนแอลง มีรอยนูนเล็กๆ ยื่นออกมาจากผนังของหลอดเลือดขนาดเล็ก บางครั้งของเหลวและเลือดจะไหลเข้าสู่เรตินา เส้นเลือดจอประสาทตาที่ใหญ่ขึ้นสามารถเริ่มขยายออกและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่สม่ำเสมอได้เช่นกัน  สามารถพัฒนาจากอ่อนไปเป็นรุนแรงได้ เนื่องจากหลอดเลือดอุดตันมากขึ้น หากเกิดการสะสมของของเหลวในส่วนตรงกลาง (macula) ของเรตินา อาจทำให้การมองเห็นลดลง จำเป็นต้องรักษาเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร 
  • เบาหวานขึ้นตาขั้นสูง หรือระยะหลอดเลือดใหม่เจริญเติบโต (Proliferative Diabetic Retinopathy: PDR)  เบาหวานขึ้นตาที่พัฒนาสู่ภาวะที่รุนแรง  โดยเส้นเลือดที่เสียหายปิดตัวลงทำให้เกิดการเติบโตของเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติในเรตินา หลอดเลือดใหม่เหล่านี้เปราะบางและสามารถรั่วไหลเข้าไปในวุ้นตา อาจทำให้จอตาลอก (Retinal Detachment)   หรือหากหลอดเลือดใหม่ขัดขวางการไหลของน้ำจากดวงตาตามปกติ ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น จนสามารถทำลายเส้นประสาทที่นำภาพจากดวงตาไปยังสมอง  ส่งผลให้เกิดโรคต้อหิน 

อาการเบาหวานขึ้นตา
เบาหวานขึ้นตาระยะแรก อาจไม่แสดงอาการใดๆ  หรือไม่ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและมองข้ามความสำคัญของการตรวจตา จนเมื่อแสดงอาการ อาจสายเกินไป อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แม้อยู่ในระยะรุนแรงแล้วก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรเข้ารับการตรวจตาตามแพทย์แนะนำ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการ ดังนี้   

  • มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำลอยอยู่ในสายตา 
  • มองเห็นภาพซ้อน หรือบิดเบี้ยว 
  • การมองเห็นแย่ลง   
  • แยกแยะสีได้ยากขึ้น 
  • เห็นภาพมืดหรือว่างเปล่าเป็นบางจุด 
  • สูญเสียการมองเห็น .

สาเหตุที่ทำให้เบาหวานขึ้นตา
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไป น้ำตาลในเลือดมากเกินไปอาจนำไปสู่การอุดตันของหลอดเลือดเล็กๆ ที่หล่อเลี้ยงเรตินา (Retina) ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่ได้ ส่งผลให้ดวงตาพยายามสร้างเส้นเลือดใหม่ แต่หลอดเลือดใหม่เหล่


บทความโดย

พญ.ศิริพร หลีหเจริญกุล
พญ.ศิริพร หลีหเจริญกุล

อายุรแพทย์ทั่วไปและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคไต


บทความน่ารู้

การตรวจคัดกรองโครโมโซมทารกในครรภ์

การตรวจคัดกรองโครโมโซมทารกในครรภ์

การตรวจคัดกรองโครโมโซมทารกในครรภ์ เป็นการตรวจความผิดปกติทางโครโมโซม ซึ่งเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการทางพันธุกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดส์ กลุ่มอาการพาทัวร์ และกลุ่มอาการโรค...

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่เรียกว่า Echocardiogram,Echocardiography หรือ Echo นั้นเป็นการตรวจเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ